6 อาชีพสายตรง! ทางเลือกสำหรับคนจบ Food Science

วัน อังคาร ที่ 12 มิถุนายน 2561, เวลา 08:38 น. 1642 ครั้ง นางสาวจินตนา

6 อาชีพสายตรง! ทางเลือกสำหรับคนจบ Food Science
 
1. งานขาย (นักขายที่สามารถเล่าเรื่องอาหารได้ดีกว่าใคร :27:)
เราสามารถเป็นตัวแทนขายวัตถุดิบให้กับโรงงานผลิตอาหาร หรือขายอาหารให้แก่ร้านค้าต่างๆได้  ซึ่งแน่นอนว่างานขายนี้ไม่ว่าใครที่เรียนจบอะไรมาก็สามารถทำได้ แต่ความพิเศษของเราคือ เราจะสามารถอธิบายถึงรายละเอียดของสินค้าให้ลูกค้าได้ชัดเจนและถูกต้องมากกว่าใคร เพราะพื้นฐานเราแน่น!

2. งานจัดซื้อ (นักหาของผู้รู้ลึกรู้จริง yes)
เราสามารถเสาะหาวัตถุดิบ (sourcing) เพื่อนำมาใช้ในการผลิตอาหารได้ ซึ่งความพิเศษของเราที่มากกว่า การ sourcing ทั่วไปก็คือ เราสามารถใช้ความรู้ในการคัดเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพดีและมีมาตรฐานตรงกับความต้องการ มาผลิตสินค้าได้นั่นเอง

 

3. งานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (R&D) (นักสร้างสรรค์ด้านอาหารตัวจริง enlightened)
เราเป็นผู้คิดสูตรอาหาร (อันนี้ต้องใช้ทักษะของแม่ครัวร่วมด้วยเล็กน้อยนะคะ ^^) งานนี้เรียกได้ว่าต้องดึงเอาวิชาความรู้ที่เรียนทั้งหมดมาใช้กันเลยทีเดียว เพราะเราต้องออกแบบตั้งแต่วัตถุดิบ ขั้นตอนการแปรรูป ภาชนะบรรจุที่ใช้ โดยทุกอย่างต้องตรวจสอบด้วยว่าถูกต้องตามกฏหมายอาหาร และหลังจากนั้นต้องทำการทดสอบชิมเพื่อให้มั่นใจว่าอาหารของเราจะขายได้แน่นอน ^^ และเมื่อมั่นใจแล้วเราก็จะถ่ายทอดสิ่งที่ออกแบบไว้นี้ให้แก่ฝ่ายผลิตต่อไป

4. งานฝ่ายผลิต (เล็กๆ ไม่! ใหญ่ๆ ทำ angle)
เราเรียนมาเพื่อผลิตอาหาร scale ใหญ่ มีการใช้เครื่องจักรและแรงงานคนผสมกัน นักวิทยาศาสตร์อาหารที่ทำงานในฝ่ายผลิตจะมีหน้าที่ควบคุมเครื่องจักรและควบคุมคนงาน ให้ผลิตสินค้าออกมาถูกต้องตามที่ R&D ออกแบบไว้ และให้ทันตาม order ของลูกค้าด้วย เราจึงต้องวางแผนการทำงานให้การผลิตมีประสิทธิภาพมากที่สุด ต้องใช้ทักษะของวิชาบริหารจัดการเข้ามาช่วยอย่างมาก 


5. งานฝ่ายควบคุม/ประกันคุณภาพ (QC/QA) (สายตรวจคุณภาพ คู่อริฝ่ายผลิต :21:)
QC/QA นี่เป็นฝ่ายตรวจสอบค่ะ... ตรวจทุ๊กกกกขั้นตอนของการผลิต...เริ่มตั้งแต่ตรวจสอบคุณภาพของวัตถุดิบที่จะนำมาใช้, ตรวจสอบพื้นที่ผลิต เครื่องจักรอุปกรณ์ และคนที่จะเข้ามาทำงานในพื้นที่ต้องสะอาด ถูกสุขลักษณะ, ตรวจสอบขั้นตอนการผลิตว่าทำถูกต้อง และสุดท้ายก็ตรวจสินค้าว่ามีคุณภาพเป็นไปตามที่ R&D กำหนดไว้จริงๆ เค้าถึงจะปล่อยให้ขายสินค้า lot นั้นได้
QC/QA นี่จะมีเครื่องมือสำหรับตรวจสอบเยอะนะคะ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องตรวจความหวาน ความเปรี้ยว ความเค็ม ความเผ็ด ความกรอบ ตรวจค่าสี เป็นต้น โดยเราจะใช้เครื่องมือเหล่านี้ร่วมกับการชิมสินค้าเพื่อให้มั่นใจในคุณภาพก่อนปล่อยขายค่ะ


6. งานฝ่ายระบบคุณภาพ (QS)  (สายตรวจศูนย์กลาง ผู้รู้จริงทุกส่วนของโรงงาน cool)
หลายๆคนคงเคยได้ยินเกี่ยวกับระบบมาตรฐานในการผลิตอาหาร เช่น GMP, HACCP, BRC, ISO, Halal กันมาบ้างนะคะ... QS นี่จะเป็นศูนย์กลางในการดูแล และควบคุมให้ทุกฝ่ายทำงานตามระบบคุณภาพเหล่านี้ล่ะค่ะ... QS จะเป็นเจ้าบ้านในเวลาที่มีหน่วยงานราชการ หรือผู้รับรองระบบมาตรวจโรงงาน และรวมถึงการไปตรวจสอบผู้ขายวัตถุดิบด้วย ว่าการผลิตของเค้าเป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่