ถวายเทียนพรรษา ปี 2563

โครงการ / กิจกรรม ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม วัน อังคาร ที่ 11 สิงหาคม 2563, เวลา 16:28 น. 769 ครั้ง CDP.

โครงการสืบสานประเพณีถวายเทียนพรรษา ประจำปี 2563
ถวายแด่ วัดตะเคียนทอง อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี 22210

          ผู้บริหาร คณาจารย์  เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา จำนวน 231 คน ร่วมกันส่งเสริมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กับโครงการสืบสานประเพณีถวายเทียนพรรษา ในปีงบประมาณ 2563 ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2563  เวลา 08.30 น. ตั้งขบวนแห่เทียนพรรษา นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์พันธุ์เดช  นนท์แสงโรจน์  รองอธิการบดี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณาจารย์  บุคลากร และนักศึกษา ซึ่งเดินทางถึงวัดตะเคียนทอง ในเวลา 09.30 น. และได้เคลื่อนขบวนแห่เทียนพรรษารอบพระอุโบสถ จำนวน 3 รอบ หลังจากนั้น  ได้ร่วมกันกล่าวคำถวายเทียนพรรษาจำนวน 2 คู่ พร้อมทั้งจตุปัจจัยไทยธรรมแด่พระสงฆ์ ณ วัดตะเคียนทอง อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี

 

หลักการและเหตุผล  

การถวายเทียนพรรษาได้กระทำขึ้นก่อนเทศกาลเข้าพรรษาแด่พระภิกษุสงฆ์ในพุทธศาสนาทุกปี คือก่อนวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หรือเดือน 8 ที่สอง ในกรณีที่มีอธิกมาส พุทธศาสนิกชนก็จะพากันขวนขวายให้มีการถวายเทียนจำนำพรรษาแก่วัดในท้องถิ่นของตน เพื่อให้พระสงฆ์จุดบูชาพระรัตนตรัย เป็นเวลา ๓ เดือน สมัยก่อนเทียนพรรษามีความสำคัญเป็นอย่างมากเพราะพระสงฆ์ต้องใช้จุดให้แสงสว่างในการศึกษาพระธรรมวินัย

แต่ในปัจจุบันนั้น เทียนพรรษาอาจจะมีความสำคัญลดน้อยไป ญาติโยมผู้มีจิตศรัทธาได้เปลี่ยนมาถวายหลอดไฟฟ้า ถ่านไฟฉาย เป็นต้นแทน แต่ถึงอย่างไร ก็ยังคงมีการถวายเทียนพรรษากันอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาไว้ซึ่งประเพณีอันดีงามของชาวพุทธไม่ให้สูญหายไป  การส่งเสริมให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญ และปลูกจิตสำนึกที่ดีในการสืบสานขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีให้คงอยู่นั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี จึงจัดโครงการการสืบสานประเพณีถวายเทียนพรรษาขึ้น เพื่อให้คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา ได้ทำหน้าที่ของพุทธศาสนิกชนที่ดีในการร่วมทำนุบำรุง สืบสานขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามให้คงอยู่สืบไป

 

กลุ่มเป้าหมาย และผู้เข้าร่วมโครงการ  รวมทั้งสิ้น  219 คน

 ผู้เข้าร่วมโครงการ                                     231 คน

คณะผู้ดำเนินการโครงการ  (เป็นผู้ร่วมกิจกรรมด้วย)  43 คน 

ประเภท

บุคลคลภายนอกมหาวิทยาลัย (คน)

บุคลคลภายในมหาวิทยาลัย (คน)

ผู้เข้าร่วมโครงการ

คณะกรรมการ

ผู้เข้าร่วมโครงการ

คณะกรรมการ

ผู้บริหาร และอาจารย์

 

 

114

 

บุคลากรมหาวิทยาลัย

 

 

27

43

นักศึกษา

 

 

28

 

บุคคลภายนอก

19

 

 

 

รวม

19

0

169

43

รวมทั้งสิ้น

231

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

รายการตัวชี้วัด

 

 

รายการตัวชี้วัด

 

 

หน่วย

แผน/ผล

การดำเนินงาน

 

  แผน

ผล

 

ตัวชี้วัดวัตถุประสงค์ผลผลิต

 

1.

จำนวนกิจกรรม/โครงการที่เกี่ยวข้องกับการทำนุบำรุงศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิ ปัญญาท้องถิ่น และความเป็นไทยที่สร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่ม

 

โครงการ

 

1

 

1

 

ตัวชี้วัดวัตถุประสงค์ผลลัพธ์

1.

ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจ ได้ร่วมกันสืบสานวัฒนธรรมประเพณีการทำบุญตักบาตร ที่เป็นวิถีการปฏิบัติของชาวพุทธมาแต่สมัยพุทธกาล

ร้อยละ

80

 

88.69

 

เป้าหมายตัวชี้วัดงบประมาณผลผลิต  เชิงปริมาณ

1.

จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด

คน

200

231

 

2.

จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ

คน

150

188

 

3.

จำนวนครั้งที่ดำเนินโครงการ

ครั้ง

1

1

 

4.

ผู้เข้าร่วมโครงการอยู่ในกระบวนการของการจัดกิจกรรมครบถ้วนอย่างน้อย

ร้อยละ

80

100

 

เป้าหมายตัวชี้วัดงบประมาณผลผลิต   เชิงคุณภาพ

1.

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในกระบวนการจัดการโครงการอย่างน้อย

ร้อยละ

80

87.69

 

เป้าหมายตัวชี้วัดงบประมาณผลผลิต   เชิงเวลา

1.

โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนดอย่างน้อย 

ร้อยละ

90

100

 

2.

ดำเนินการวันที่ 2 กรกฎาคม 2533

วัน

1

1

 

เป้าหมายตัวชี้วัดงบประมาณผลผลิต  เชิงต้นทุน

1.

ค่าใช้จ่ายของโครงการที่ได้รับจัดสรร

บาท

40,000

40,000

 

เป้าหมายตัวชี้วัดงบประมาณผลลัพธ์ เชิงประมาณ

1.

ความพึงพอใจต่อประโยชน์ของการ

ร่วมโครงการฯ

 

ร้อยละ

80

88.87

 

เป้าหมายตัวชี้วัดงบประมาณผลลัพธ์ เชิงคุณภาพ

1.

ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้จริง

ร้อยละ

80

88.02

 

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

>สรุปรายงานผลการดำเนินโครงการ

>คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน

>รายชื่อผู้เข้าร่วมโครงการ

>ชมภาพเพิ่มเติม

รูปภาพประกอบ :