ผ้าป่าสามัคคี บ้าน วัด มหาวิทยาลัย ร่วมใจสู้ภัย โควิด

โครงการ / กิจกรรม ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม วัน จันทร์ ที่ 12 กรกฎาคม 2564, เวลา 16:22 น. 541 ครั้ง CDP.

         ผู้บริหาร คณาจารย์  และบุคลากรวิทยาเขตจันทบุรี  จำนวน 86 คน ร่วมกิจกรรมผ้าป่าสามัคคีบ้าน วัด มหาวิทยาลัย ร่วมใจสู้ภัยโควิด – 19  โดยมีการร่วมกันระดมทุนในการจัดซื้ออุปกรณ์ และวัสดุจำเป็นสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการติดเชื้อโรคโควิด-19 เป็นจำนวนเงิน 16,826 บาท (หนึ่งหมื่นหกพันแปดร้อยยี่สิบหกบาทถ้วน)  พร้อมด้วยอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่าง ๆ อาทิ แอลกอฮอล์ 95 %  หน้ากากอนามัย รวมถึงน้ำดื่ม “ราชมงคลจันท์” ไปร่วมสมทบองค์ผ้าป่าสามัคคีกับชาวบ้านตำบลตะเคียนทอง อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2564 ณ วัดตะเคียนทอง อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี  มียอดรวมปัจจัยเป็นเงิน 213,709 บาท (สองแสนหนึ่งหมื่นสามพันเจ็ดร้อยเก้าบาทถ้วน)  และได้ทำการส่งมอบเงินบริจาคให้กับโรงพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรีเพื่อนำไปบริหารจัดการไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมี นางสาวศศิธร  ศรีประดิษฐ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร โรงพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี เป็นตัวแทนรับมอบ หลังจากนั้นมีชาวบ้านในชุมชนตะเคียนทอง ร่วมต่อยอดเงินปัจจัยให้เพิ่มขึ้น รวมเป็นเงินปัจจัยทั้งสิ้น 216,089 (สองแสนหนึ่งหมื่นหกพันแปดสิบเก้าบาทถ้วน)  ซึ่งมีนายวิฑูรย์  ต้นทอง ปลัดอำเภอเขาคิชฌกูฏ พร้อมด้วยกรรมการของวัดตะเคียนทอง ร่วมเป็น         สักขีพยาน

นอกจากเงินปัจจัยทำบุญแล้ว ชาวชุมชนตำบลตะเคียนทอง ยังได้นำทุเรียนกว่า 500 ลูก และผลไม้เมืองจันท์อีกหลากหลายชนิด อาทิ มังคุด กระท้อน ลองกอง ลำไย ขนุน กล้วย และมะม่วง รวมถึงเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นอีกเป็นจำนวนมาก มาร่วมในองค์ผ้าป่าสามัคคีฯ ในครั้งนี้ด้วย เพื่อส่งมอบเป็นขวัญและกำลังใจให้กับบุคลากรทางการแพทย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  โดยได้รับความอนุเคราะห์จากโรงพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรีเป็นผู้จัดสรร แบ่งส่วน และดำเนินการขนย้ายไปมอบยังบุคลากรทางการแพทย์ และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลเขาคิชฌกูฏด้วย

 

หลักการและเหตุผล

สังคมไทยเป็นสังคมของการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือกันมาแต่ช้านาน ซึ่งการช่วยเหลือเกื้อกูล เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  ซึ่งกันและกันเป็นสิ่งที่จะทำให้สังคมมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น  และการจะทำให้สังคมเข้มแข็งขึ้นมาได้นั้นไม่สามารถดำเนินการตามลำพังได้ ต้องอาศัยพลังมวลชนในชุมชนนั้นๆ ร่วมแรงร่วมใจกัน ซึ่งสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ เช่น กิจกรรมจิตอาสา การทำบุญบริจาค ไปจนถึงการร่วมแนวการปฏิบัติตามแนวทางของกิจกรรมโครงการช่วยเหลือสังคมที่ต้องการความช่วยเหลือ และการสนับสนุนจากพลังมวลชน ที่จะสร้างให้ชุมชนท้องถิ่นนั้นๆ เกิดความเข้มแข็งขึ้นมาได้ สิ่งเหล่านี้ เรียกได้ว่าเป็นวัฒนธรรมการช่วยเหลือที่เราถือปฏิบัติกันเป็นแบบอย่างมาตั้งแต่สมัยโบราณกาล

การช่วยเหลือชุมชน สังคม ในยามคับขัน จึงถือเป็นความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างหนึ่งสำหรับผู้ที่อยู่ในชุมชน สังคมนั้น ๆ ควรจะตระหนัก และร่วมกันช่วยเหลือซึ่งกันและกันให้ผ่านพ้นไปได้ ดังเช่นสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ที่กำลังเป็นปัญหาในปัจจุบันนี้ ส่งผลกระทบต่อประชาชนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพกาย และสุขภาพจิต โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ที่พบว่ามีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนได้รับการยกระดับเป็นพื้นที่ควบคุม ซึ่งส่งผลให้บุคลากรทางการแพทย์ต้องทำงานหนักขึ้น อีกทั้งต้องขยายพื้นที่อื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อจัดเป็นสถานที่สำหรับการกักตัว (State Quarantine) ด้วย

ดังนั้น มหาวิทยาลัยฯ จึงได้จัดกิจกรรมผ้าป่าสามัคคี บ้าน วัด มหาวิทยาลัย ร่วมใจสู้ภัยโควิด-19 ขึ้น  เพื่อเป็นการระดมทุนในการจัดซื้ออุปกรณ์  และวัสดุจำเป็น สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการติดเชื้อโรคโควิด-19 ซึ่งเป็นการสมทบทุนร่วมกับวัดตะเคียนทอง และชุมชนชาวตำบลตะเคียนทอง อำเภอเขาคิชฌกูฏ ทั้งนี้ นอกจากคณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยฯ   จะได้มีโอกาสทำบุญร่วมกับคณะญาติธรรมในชุมชนแล้วยังถือได้ว่ามีส่วนร่วมในการสืบสานวัฒนธรรมการช่วยเหลือชุมชน สังคม ให้เข้มแข็ง อันเป็นสิ่งที่ได้ยึดถือปฏิบัติกันเป็นแบบอย่างมาแต่สมัยโบราณกาลอีกด้วย

 

กลุ่มเป้าหมาย และผู้เข้าร่วมโครงการ  รวมทั้งสิ้น  86 คน

 

¾ ผู้เข้าร่วมโครงการ                                      67 คน

¾ คณะผู้ดำเนินการโครงการ  (เป็นผู้ร่วมกิจกรรมด้วย)  19 คน

 

ประเภท

บุคลคลภายนอกมหาวิทยาลัย (คน)

บุคลคลภายในมหาวิทยาลัย (คน)

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

คณะกรรมการ

ผู้เข้าร่วมโครงการ

คณะกรรมการ

 

ผู้บริหาร และอาจารย์

 

 

5

 

 

บุคลากรมหาวิทยาลัย

 

 

58

19

 

นักศึกษา

 

 

 

 

 

บุคคลภายนอก

4

 

 

 

 

รวม

4

0

63

19

 

 

 

 

รายการตัวชี้วัด

 

 

หน่วย

แผน/ผล

การดำเนินงาน

ผลการดำเนินงานของโครงการ

หมายเหตุ

 

  แผน

ผล

บรรลุ

ไม่บรรลุ

 

ตัวชี้วัดวัตถุประสงค์ผลผลิต

 

 

1.

ร้อยละความสำเร็จในการรวบรวมทุนเพื่อการจัดซื้ออุปกรณ์และวัสดุตามเป้าหมาย

 

ร้อยละ

 

100

 

100

 

/

 

-

 

 

ตัวชี้วัดวัตถุประสงค์ผลลัพธ์

 

1.

ร้อยละของบุคลากรวิทยาเขตจันทบุรีมีส่วนร่วมในกิจกรรมตามแผนที่กำหนด

ร้อยละ

80

164

/

 -

 

 

เป้าหมายตัวชี้วัดงบประมาณผลผลิต  เชิงปริมาณ

 

1.

จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด

คน

50

86

/

 -

 

 

2.

จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ

คน

19

86

/

 -

 

 

3.

จำนวนครั้งที่ดำเนินโครงการ

ครั้ง

1

1

/

 -

 

 

4.

ผู้เข้าร่วมโครงการอยู่ในกระบวนการของการจัดกิจกรรมครบถ้วนอย่างน้อย

ร้อยละ

80

100

/

 -

 

 

เป้าหมายตัวชี้วัดงบประมาณผลผลิต   เชิงคุณภาพ

 

1.

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในกระบวนการจัดการโครงการอย่างน้อย

ร้อยละ

80

87.69

/

 -

 

 

เป้าหมายตัวชี้วัดงบประมาณผลผลิต   เชิงเวลา

 

1.

โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนดอย่างน้อย 

ร้อยละ

90

100

/

 -

 

 

2.

ดำเนินการวันที่ 26 พฤษภาคม 2564

วัน

1

1

/

 -

 

 

เป้าหมายตัวชี้วัดงบประมาณผลผลิต  เชิงต้นทุน

 

1.

ค่าใช้จ่ายของโครงการที่ได้รับจัดสรร

(ไม่รวมงบลงทุน)

บาท

0

0

 

 

 

เป้าหมายตัวชี้วัดงบประมาณผลลัพธ์ เชิงประมาณ   -

เป้าหมายตัวชี้วัดงบประมาณผลลัพธ์ เชิงคุณภาพ   -

 

 

>> รายงานสรุปผลการดำเนินกิจกรรม....ดาวน์โหลด

>> คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินกิจกรรม ... ดาวน์โหลด

>> ชมภาพเพิ่มเติม...คลิก

 

รูปภาพประกอบ :