ย้อนยุควิถีไทย ปีใหม่ราชมงคลจันท์

โครงการ / กิจกรรม ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม วัน พุธ ที่ 4 เมษายน 2561, เวลา 18:14 น. 2757 ครั้ง CDP.

โครงการสืบสานประเพณีสงกรานต์ ประจำปี 2561

"ย้อนยุควิถีไทย  ปีใหม่ราชมงคลจันท์"

วันที่ 4 เมษายน 2561 

ณ หอพระพุทธชินราชวิทยาเขตจันทบุรี  ลานพระพิรุณ

 

หลักการและเหตุผล  

พิธีสงกรานต์ ถือเป็นประเพณีการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ของไทยที่ยึดถือปฏิบัติมาแต่โบราณ เป็นวันแห่งความเอื้ออาทร ความรัก ความผูกพัน ที่มีต่อกันทั้งครอบครัว ชุมชน สังคม และศาสนา ในช่วงสงกรานต์นี้ ยังเป็นช่วงเวลาที่พุทธศาสนิกชนทุกคน จะได้เข้าวัด ทำบุญ ตักบาตร ขนทรายเข้าวัด เลี้ยงพระ ฟังเทศน์ ปฏิบัติธรรม อุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับ และทำความสะอาดวัดและลานวัด รวมทั้งทำนุบำรุง จัดหาปัจจัยต่าง ๆ มาช่วยเหลือทำนุบำรุงวัด ซึ่งเทศกาลสงกรานต์ ถือเป็นงานใหญ่ ที่ทุกคนจะได้ร่วมมือกัน ช่วยเหลือ ทำนุบำรุงศาสนา และสืบทอดพระพุทธศาสนาให้ดำรงอยู่ต่อไป

นอกจากนี้ยังมีพิธีรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่อีกด้วย  ซึ่งเป็นพิธีต่อเนื่องจากวันสงกรานต์ เป็นการแสดงถึงความเคารพนอบน้อมต่อบิดามารดา ผู้ใหญ่ หรือผู้มีพระคุณ เป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวที ของผู้น้อยและขอขมาลาโทษที่ผู้น้อยอาจเคยล่วงเกินผู้ใหญ่ อีกทั้งเป็นการขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคล แก่ตนเองตลอดไปตั้งแต่วันแรกของการเริ่มประ เพณีสงกรานต์ จนถึงวันสุดท้ายของสงกรานต์  การรดน้ำดำหัวไม่ได้เป็นเพียงการชำระสิ่งไม่ดีออกไปเท่านั้น แต่ยังมีความหมายดีๆ แฝงอยู่ นั่นคือ เป็นการแสดงความเคารพต่อบิดา มารดา ผู้ใหญ่ หรือผู้มีพระคุเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีของผู้น้อย และเพื่อขอโทษขออภัยในปีที่ผ่านมา ที่ผู้น้อยอาจจะเคยล่วงเกินผู้ใหญ่ทั้งกาย วาจา ใจ ทั้งที่ตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจ ไม่ว่าจะต่อหน้าหรือว่าลับหลังก็ตาม รวมถึงเป็นการขอพรจากผู้อาวุโส เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองตลอดปีอีกด้วย 

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก  วิทยาเขตจันทบุรี จึงจัดโครงการสืบสานประเพณีสงกรานต์ ขึ้นเพื่อให้บุคลากรมหาวิทยาลัย ได้มีโอกาสร่วมกันสืบสานประเพณีอันดีงามด้วยการ ทำบุญตักบาตร รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ และขอพรจากผู้อาวุโส อีกทั้งยังเป็นการได้ทำหน้าที่ของการเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีในการสืบทอดพระพุทธศาสนาให้ดำรงต่อไปอีกด้วย   

วัตถุประสงค์      

วัตถุประสงค์

ตัวชี้วัด

หน่วยนับ

ค่าเป้าหมาย

ผล

  เพื่อให้คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฯ ได้มีโอกาสร่วมอนุรักษ์และสืบสานประเพณีสงกรานต์ให้คงอยู่สืบไป

1.  (ผลผลิต) ร้อยละของระดับความคิดเห็นในการได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมอนุรักษ์และสืบสานประเพณีสงกรานต์

 

ร้อยละ

 

70

90.00

2.  (ผลลัพธ์) ร้อยละของระดับความคิดเห็นในการตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของประเพณีวันสงกราต์

ร้อยละ

80

90.23

 

กิจกรรมภายในงาน

     - สรงน้ำพระพุทธรูป ณ หอพระพุทธชินราชวิทยาเขตจันทบุรี

     - รดน้ำดำหัวขอพรผู้บริหาร / ผู้อาวุโส

     - สนุกกับกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ชิมขนมไทย สาวจันท์ปั้นแป้ง  สอยดาวสอยจันท์  รำวงเก้าอี้ดนตรี

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ  จำนวน  282  คน

ประเภท

บุคคลภายนอกมหาวิทยาลัย

จำนวน (คน)

บุคคลภายในมหาวิทยาลัย

จำนวน (คน)

ผู้บริหาร และอาจารย์

-  97

บุคลากรเจ้าหน้าที่

 -  69

นักศึกษา

 -  116

รวมทั้งสิ้น

- 282

   

 

ตัวชี้วัดผลผลิต/ผลลัพธ์

รายการตัวชี้วัด

หน่วย

แผน/ผล

การดำเนินงาน

ผลการดำเนินงานของโครงการ

หมายเหตุ

แผน

ผล

บรรลุ

ไม่บรรลุ

 

ตัวชี้วัดวัตถุประสงค์

 

 

 

1.

(ผลผลิตโครงการ)

ระดับความคิดเห็นในการได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมอนุรักษ์และสืบสานประเพณีสงกรานต์

 

ร้อยละ

70

90.00

 

 

2.

(ผลลัพธ์โครงการ)

ระดับความคิดเห็นในการตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของประเพณีวันสงกรานต์

ร้อยละ

80

90.23

 

 

ตัวชี้วัดเป้าหมายผลผลิต/ผลลัพธ์เชิงปริมาณ/ผลผลิต

1.

จำนวนครั้งที่ดำเนินโครงการ

ครั้ง

1

1

 

 

 

2.

 

 จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ

 คน

 100

282

 

 

 

3.

 

ผู้เข้าร่วมโครงการร่วมกิจกรรมครบถ้วน

 

ร้อยละ

 

80

 

100

 

 

เชิงปริมาณ/ผลลัพธ์

1.

ผู้เข้าร่วมโครงการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

 

ร้อยละ

 

80

90.31

 

 

 

เชิงคุณภาพ/ผลผลิต

1.

ความพึงพอใจในภาพรวม

 

ร้อยละ

 

80

 90.00

 ⁄

 

 

 

เชิงคุณภาพ/ผลลัพธ์

1.

ความพึงพอใจต่อประโยชน์ของการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

 

ร้อยละ

 

80

 

90.23

 

 

 

เชิงเวลา/ผลผลิต

 กำหนดการจัดกิจกรรม

 แผน =   เดือนเมษายน 2561

  ผล =    วันที่ 4 เมษายน 2561

*******************************************************

#คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน

#รายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม

#สรุปผลประเมินการจัดกิจกรรม

#ชมภาพกิจกรรมเพิ่มเติม

 

รูปภาพประกอบ :