แนวทางการศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี

วัน พฤหัส ที่ 17 ธันวาคม 2563, เวลา 10:03 น. 1040 ครั้ง ปรีดาภรณ์

คณะเทคโนโลยีสังคม

-------------------------------------------------------------------------------

หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต (วท.บ.)Bachelor of Science (B.S.)

     สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science)

    มุ่งเน้นผลิตบัณฑิต คอมพิวเตอร์ศาสตร์ ที่มีความรู้ ทักษะ ความสามารถทางด้านคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ อีกทั้งยังปลูกฝังให้บัณฑิตเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาวิชาชีพต่อตนเอง สังคม และประเทศชาติอีกด้วย

    สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology)

    ศึกษาเกี่ยวกับพื้นฐานความรู้ทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในด้านระบบสารสนเทศแนวใหม่  การพัฒนาซอฟแวร์และระบบงานการจัดการโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบเครือข่ายการจัดการสมัยใหม่ที่ประยุกต์ใช้กับคอมพิวเตอร์  การประมวลผล  การเข้าถึงและการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ  ระบบจัดการฐานข้อมูล  คอมพิวเตอร์กราฟฟิก  มีห้องปฏิบัติการเฉพาะทางที่ทันสมัย  กระบวนการเรียนการสอนเน้นทักษะทางด้านปฏิบัติ

        ♥ การออกแบบและนำเสนอด้วยอินโฟกราฟิก

        ♥ การออกแบบสื่อและดิจิทัลและโซเชียลมีเดีย

        ♥ การออกแบบพัฒนาเว็บไซต์

        ♥ การออกแบบแอพพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่

        ♥ การแปรรูปข้อมูลดิจิทัล

        ♥ การบริหารจัดการอุปกรณ์สำนักงานดิจิทัล

 

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต  (บธ.บ.) Bachelor of Business Administration (B.B.A.)

      สาขาวิชาบริหารธุรกิจบัณฑิต (Business Administration)

     ศึกษาทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติด้านผู้ประกอบการ และการจัดการทรัพยากรมนุษย์ มุ่งการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัล นวัตกรรมและสารสนเทศการคิดสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ มีคุณธรรม จริยธรรม การนำไปใช้ในระบบการทำงานขององค์การสากลอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  สามารถริเริ่มธุรกิจได้ในยุคธุรกิจไร้พรมแดน ประยุกต์ความรู้ที่ได้ในชีวิตประจำวันและสถานที่ทำงานจริงทั้งในหน่วยงานของรัฐบาลและเอกชน  อันเป็นประสบการณ์และทักษะการทำงานแท้จริงสู่การประกอบธุรกิจและการพัฒนาองค์การธุรกิจที่ดีในอนาคตได้

      ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถปฏิบัติงานได้ทั้งในหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งสามารถประกอบธุรกิจส่วนตัวและอาชีพอิสระได้ โดยแยกเป็นวิชาเอก ดังนี้

อาชีพสำหรับวิชาเอกการจัดการเพื่อผู้ประกอบการ

1) ผู้ประกอบการใหม่/ผู้ประกอบการในอนาคต               2) ผู้ประกอบการเพื่อสังคม

3) ผู้จัดการทั่วไปบริษัทเอกชน                               4) นักพัฒนาธุรกิจ

5) นักวิเคราะห์และวางแผนธุรกิจ                            6) ที่ปรึกษาด้านธุรกิจ

7) นักพัฒนาธุรกิจชุมชน                                    8) นักการตลาด

9) นักวิจัยธุรกิจ                                              10) นักธุรกิจพาณิชอิเล็กทรอนิกส์

อาชีพสำหรับวิชาเอกการจัดการทรัพยากรมนุษย์

1) หัวหน้างานฝ่ายบริหารพัฒนาทรัพยากรมนุษย์หน่วยงานเอกชน

2) เจ้าหน้าที่บริหารงานบุคคล กองการเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ

3) เจ้าหน้าที่บริหารงานธุรการ

4) นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อิสระ

5) เจ้าหน้าที่ฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรและพัฒนาองค์กร

6) เจ้าหน้าที่บริหารค่าตอบแทนและสวัสดิการ

7) เจ้าหน้าที่/พนักงาน แรงงานสัมพันธ์

8) เจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านทรัพยากรมนุษย์อิสระ

9) ตัวแทนจัดการด้านแรงงานต่างประเทศ

10) เจ้าหน้าที่ประกันสังคม

 

     สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management)

     ศึกษาในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารธุรกิจ การค้าและการขนส่ง โดยมีเนื้อหาสำคัญๆ เช่น การนำเข้าและส่งออกสินค้า การจัดการสินค้าคงคลังและคลังสินค้า เทคโนโลยีในงานโลจิสติกส์ฯ รวมถึงบูรณาการศาสตร์โลจิสติกส์กับงานอื่นๆ สาขาวิชามุ่งเน้นสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความคิดเชิงบูรณาการ เพื่อให้บัณฑิตที่จบในสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ มีความสามารถในการปฏิบัติงานได้จริง และเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ กล้าแสดงออก สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้และมีจิตสำนึกที่ดีต่อสังคม

หลักสูตรบัญชีบัณฑิต  (บช.บ.) Bachelor of Accountancy (B.Acc.)

      สาขาวิชาการบัญชี (Bachelor of  Accountancy)

     วิชาชีพบัญชีมีความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการจัดหาและใช้ทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจที่มีอยู่ในระบบเศรษฐกิจอย่างจำกัดทั้งในระดับจุลภาคและมหภาค ดังนั้น นักศึกษาจะได้ศึกษาพื้นฐานความรู้ทั้งในภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ ด้านการบัญชีการเงิน  การตรวจสอบบัญชี  การบัญชีบริหาร  ระบบสารสนเทศทางการบัญชี  การบัญชีภาษีอากร  และการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีต่าง ๆ  จัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการให้นักศึกษาสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับการทำงานและการดำเนินชีวิต  โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อให้บัณฑิตมีคุณลักษณะเป็น “บัณฑิตนักปฏิบัติ”    มีทักษะที่เกิดจากการปฏิบัติในสถานประกอบการผ่านกระบวนการสหกิจศึกษาหรือการฝึกงานทั้งในหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน  เพื่อให้มีความรอบรู้เพียงพอและพร้อมต่อการประกอบวิชาชีพบัญชีได้อย่างมีคุณภาพ  และมหาวิทยาลัยยังมีคอมพิวเตอร์และสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย  หลักสูตรบัญชีบัณฑิตได้ผ่านการรับรองจากสภาวิชาชีพบัญชี และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ให้การรับทราบ เป็นหลักสูตรที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจจะเป็นนักบัญชีหรือจะประกอบวิชาชีพบัญชีทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งในปัจจุบันนักบัญชียังเป็นอาชีพที่ต้องการของตลาดแรงงานอย่างมาก

หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (ศ.บ.)Bachelor of Economics (B.Econ.)

      สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ (Economics)

     ศึกษาเกี่ยวกับพื้นฐานความรู้ในสาขาเศรษฐศาสตร์และวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง เช่น วิชาชีพด้านการบริหารธุรกิจ บัญชี คอมพิวเตอร์ โดยเน้นการผสมผสานระหว่างทฤษฏีกับปฏิบัติ โดยเฉพาะพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ และแนวทางการด าเนินชีวิตให้มีความสุข แนวทางการวางแผนอนาตคของตนเองและครอบรัว การใช้วิธีการสอนแบบบูรณาการ ให้สามารถประยุกต์ใช้ได้กับการท างาน และการด าเนินชีวิตโดยเน้นผู้เรียนเป็นส าคัญ มีคอมพิวเตอร์และสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย

 

 

คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตร  

-------------------------------------------------------------------------------

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)Bachelor of Science(B.S)

        สาขาวิชาพืชศาสตร์ (Plant Science)

        ศึกษาเกี่ยวกับความรู้ทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ ด้านการผลิตไม้ผล พืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับ พืชอินทรีย์ พืชGAP การขยายพันธุ์พืช การจัดและตกแต่งภูมิทัศน์ อารักขาพืช ปฐพีวิทยา ปุ๋ยและการใช้ปุ๋ย การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน เป็นต้น โดยมีการศึกษาทั้งในห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ และแปลงปฏิบัติการของสาขาวิชาฯ ซึ่งประกอบไปด้วย แปลงไม้ผล (ทุเรียน, เงาะ, มังคุด, ลำไย) แปลงยางพารา แปลงปาล์มน้ำมัน แปลงผลิตผัก โรงเรือนระบบปิด สำหรับผลิตพืชผักอินทรีย์ และไม้ดอกไม้ประดับ โรงเรือนเพาะชำ โรงเรือนผลิตพืช ในระบบไฮโดรโปนิกส์ พร้อมทั้งนำเทคโนโลยีและภูมิปัญญาท้องถิ่น มาบูรณาการให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน และพัฒนาองค์ความรู้ในเชิงธุรกิจเกษตรยุคใหม่ได้อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ยังมีโครงการและกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นในระหว่างการศึกษา เพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ให้กับผู้เรียนให้สามารถออกไปเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ด้านพืชศาสตร์อย่างเหมาะสม

         สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ (Animal Production Technology) 

        มุ่งเน้นให้นักศึกษาได้ศึกษาความรู้ และการฝึกทักษะด้านการผลิตสัตว์ที่เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น ไก่ไข่ ไก่เนื้อ ไก่พื้นเมือง เป็ด สุกร โคนม โคเนื้อ ซึ่งจะเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการจัดการผลิตสัตว์ เช่น เทคโนโลยีชีวภาพทางการผลิตสัตว์ เทคโนโลยีการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการคำนวณสูตรอาหารสัตว์ การวิเคราะห์คุณภาพอาหารสัตว์ในห้องปฏิบัติการ การใช้โรงเรือนระบบปิด (Evap) ในอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ และการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์สมรรถภาพการผลิตในฟาร์มปศุสัตว์ ตลอดจนการเน้นทักษะปฏิบัติโดยมีการปฏิบัติงานด้านสหกิจศึกษาในสถานประกอบการ

        สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)

        เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถด้านทฤษฎี และมีทักษะด้านการปฏิบัติงานจริงด้านพืช สัตว์ ประมง และส่งเสริมการเกษตร รวมทั้งนำเทคโนโลยีทางการเกษตรสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ในระบวนการผลิต โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้บัณฑิตที่จบออกไปสามารถพึ่งพาตนเองได้ และเป็นที่ต้องการของสถานประกอบการภาครัฐและเอกชน

        สาขาวิชาประมง (Fisheries) ศึกษาเกี่ยวกับ

  1. ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด สัตว์น้ำชายฝั่ง และสัตว์น้ำสวยงาม

เน้นให้นักศึกษามีความรู้และความเชี่ยวชาญในศาสตร์ทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ รวมถึงด้านการจัดการประมง ตั้งแต่การวางแผนงานและการนำไปสู่การปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและสามารถใช้ทรัพยากรประมงได้อย่างถูกต้องตามศักยภาพและยั่งยืนโดยประกอบด้วยการศึกษาในห้องเรียนและการฝึกปฏิบัติในบ่อพื้นที่บ่อและโรงเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

  1. ด้านวิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรสิ่งมีชีวิตในน้ำ

โดยเน้นให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับชีววิทยาพื้นฐานของสัตว์น้ำ การดำรงชีวิตและความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต ระบบนิเวศน์ทางน้ำ การอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์ทางทรัพยากรสิ่งมีชีวิตทั้งในน้ำจืดและทะเลรวมถึงการศึกษาและตรวจสอบคุณภาพน้ำและสิ่งแวดล้อม

  1. ด้านผลิตภัณฑ์ประมง

เป็นการเรียนการสอนเกี่ยวกับเทคโนโลยีการเก็บรักษาและแปรรูปสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ จากแหล่งน้ำ การใช้ประโยชน์จากสิ่งมีชีวิตในน้ำ  และผลิตภัณฑ์อื่นๆ เมื่อนักศึกษาจบการศึกษาในด้านนี้แล้วจะเป็นผู้มีความเข้าใจในหลักการแปรรูปจัดการผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ

        สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) 

        ศึกษาเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีในด้านต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในพืชและอุตสาหกรรม ทั้งทางภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เช่น สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากพืชและจุลินทรีย์ การเพาะเลี้ยงศึกษาสารออกฤทธิ์และการแปรรูปเห็ดสมุนไพรการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชและการประยุกต์ใช้ทางพันธุวิศวกรรม การผลิตผลิตภัณฑ์จากจุลินทรีย์ เช่น การผลิตเอนไซม์ทางอุตสาหกรรม การเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์โพรไบโอติกการผลิตโปรตีนเซลล์เดียว การผลิตไบโอเอทานอลการผลิตแบคทีเรียลเซลลูโลส การผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ เช่น อาหาร เครื่องสำอาง และเครื่องดื่มจากจุลินทรีย์รวมถึงการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การบำบัดและการใช้ประโยชน์จากของเสีย นอกจากนี้ยังเรียนรู้ด้านการประกอบธุรกิจทางเทคโนโลยีชีวภาพทางพืชและอุตสาหกรรม

 

        สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร  (Food Science and Technology)  

        มุ่งเน้นที่นำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและกายภาพเป็นพื้นฐาน เพื่อศึกษาลักษณะทางธรรมชาติของอาหาร  เพื่อใช้ประโยชน์ในการถนอมและแปรรูปอาหารในระดับอุตสาหกรรม เพื่อสร้างนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารที่มีความสามารถในการดำเนินงานและบริหารจัดการโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร กระบวนการแปรรูปอาหาร การออกแบบกระบวนการผลิตในโรงงานผลิตอาหาร  การจัดการโรงงานผลิตอาหาร รวมทั้งเทคโนโลยีการแปรรูปอาหารเฉพาะด้าน เช่น ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ ผลิตภัณฑ์นม ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม ฯลฯ นอกจากนี้ยัง สร้างความเป็นนักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ โดยมีทักษะที่นำหลักการและขั้นตอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร การประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสของอาหาร การประเมินอายุการเก็บรักษาของอาหาร เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์อาหาร และการประกอบอาหารเพื่อสุขภาพมาประยุกต์ใช้

         การประกอบอาชีพของบัณฑิต นั้น สามารถเป็น นักวิทยาศาสตร์การอาหาร นักเทคโนโลยีอาหารในโรงงานอุตสาหกรรมอาหารทุกแห่ง โดยทำหน้าที่ฝ่ายผลิต หรือฝ่ายควบคุมคุณภาพ ฝ่ายประกันคุณภาพ ฝ่ายวิจัยและพัฒนา พนักงานในบริษัทที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหาร เช่น  การผลิตและจำหน่ายส่วนประกอบหรือส่วนผสมในอาหาร บรรจุภัณฑ์ การตรวจวิเคราะห์อาหาร การตรวจรับรองระบบคุณภาพ และความปลอดภัยของอาหารการนำเข้าและส่งออกสินค้าเกษตรและอาหาร ข้าราชการในหน่วยงานรัฐ เช่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สถาบันอาหาร กรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นต้น อาจารย์หรือนักวิจัยในมหาวิทยาลัยและสถานศึกษา หรือหน่วยงานวิจัย นักโภชนาการในโรงพยาบาล  หรือประกอบธุรกิจส่วนตัวที่เกี่ยวกับการแปรรูปอาหาร

 

        สาขาวิชาเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการจัดการนวัตกรรม(Product Development  Technologyand Innovation Management) 

        เป็นหลักสูตรสหวิทยาการ ที่มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีทักษะวิชาชีพ และองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ การจัดการกับนวัตกรรม  โดยศึกษาทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติการในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรม  กระบวนการสร้างนวัตกรรม การจัดการนวัตกรรมผลิตภัณฑ์  การจัดการทรัพย์สินทางปัญญา  ความเป็นผู้ประกอบการสำหรับนวัตกร  การจัดการระบบคุณภาพ  การควบคุมคุณภาพ การวิเคราะห์คุณภาพทางเคมี กายภาพและจุลชีววิทยา การประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสอุตสาหกรรมเกษตรเบื้องต้น เทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์  วิศวกรรมแปรรูปเทคโนโลยีการบรรจุและอายุการเก็บรักษา การตลาด  การวิจัยตลาดและผู้บริโภค วางแผนการทดลองและโปรแกรมประยุกต์ทางคอมพิวเตอร์ ระเบียบวิธีวิจัยและสหกิจศึกษา เพื่อพัฒนานักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์บนพื้นฐานการวิจัยและพัฒนาเชิงระบบในอุตสาหกรรมเกษตรอย่างมีคุณภาพตามความต้องการของตลาดแรงงาน ซึ่งมีวิชาชีพให้เลือกเรียนดังนี้

ออกแบบผลิตภัณฑ์  การจัดการผลิตและดำเนินงาน  อาหารและโภชนาการเพื่อสุขภาพ  นาโนเทคโนโลยีอาหารและโภชนเภสัชภัณฑ์นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้  นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ประมง  นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชีวภาพและอาหารหมัก  นวัตกรรมผลิตภัณฑ์อาหารโปรตีน  และนวัตกรรมเครื่องสำอาง

     อาชีพที่สามารถประกอบได้ สำเร็จการศึกษา

  1. นักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์  นักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในภาครัฐและเอกชน
  2. เจ้าหน้าที่ฝ่ายควบคุมคุณภาพ และประกันคุณภาพ ในโรงงานอุตสาหกรรม
  3. นักวิจัยตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภค
  4. นวัตกร
  5. ผู้ประกอบการด้านธุรกิจผลิตภัณฑ์นวัตกรรม

        สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรมอาหาร  (Food  Industry  Management Technology)

        ได้จัดการเรียนการสอนเพื่อเน้นสร้างบัณฑิตที่มีทักษะปฏิบัติและความเข้าใจด้านการจัดการ การแปรรูป และโลจิสติกส์ มาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค บรรจุภัณฑ์และอายุการเก็บรักษา การจัดการด้านเศรษฐศาสตร์และต้นทุนการเงินทางอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารและสินค้าเกษตร และสามารถพัฒนาเป็นผู้ประกอบการในอนาคตเพื่อรองรับเศรษฐกิจอาเซียนและเศรษฐกิจในระดับโลกได้แบ่งเป็น2 กลุ่มวิชา

  1. กลุ่มวิชาการจัดการอุตสาหกรรมอาหารและธุรกิจอาหาร
  2. กลุ่มวิชาโลจิสติกส์อุตสาหกรรมอาหาร

 

    อาชีพที่สามารถประกอบได้หลักสำเร็จการศึกษา

  1. เจ้าหน้าที่ฝ่ายวางแผนการผลิต ประกันคุณภาพ และการจัดการห่วงโซ่อุปทาน ในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร
  2. นักวิชาการ นักวิเคราะห์ เจ้าหน้าที่ประเมินระบบ เจ้าหน้าที่รับรองคุณภาพในหน่วยงานราชการเช่น

สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมวิทยาศาสตร์บริการ สถาบันอาหาร และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

  1. ผู้ประกอบการธุรกิจส่วนตัวด้านอุตสาหกรรมอาหาร/ธุรกิจอาหาร

     แนวทางการศึกษาต่อ สำหรับบัณฑิตที่จบจากหลักสูตรเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรมอาหารสามารถศึกษาต่อในหลักสูตรปริญญาโทสาขาวิชา

  • เทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรมอาหาร
  • การจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร
  • การจัดการอุตสาหกรรมเกษตร
  • การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
  • การบริการธุรกิจอุตสาหกรรม
  • การจัดการธุรกิจอาหาร
  • และสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง

หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (อส.บ.) Bachelor of Industrial Technology (B.Ind.Tech.)

          สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องกล (Mechanical Technology)

         มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติด้านเทคโนโลยีเครื่องกล เพื่อรองรับภาคอุตสาหกรรมของประเทศ โดยปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ  ให้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน การดำเนินงานทางธุรกิจในภาคอตุสาหกรรมต่างๆ เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ หลักสูตรนี้จึงจัดขึ้นเพื่อผลิตบัณฑิต โดยมุ่งเน้นให้มีทักษะด้านการปฏิบัติการ ทางด้านออกแบบและวิเคราะห์ทางวิศวกรรม ด้านความร้อนและพลังงาน ด้านระบบต้นกำลัง และด้านการควบคุมอัตโนมัติ โดยสามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย มีกระบวนการคิดอย่างมีระบบ สามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้งานได้อย่างเหมาะสม 

 

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) Bachelor of Engineering Program in Electrical Engineering (B.Eng)

          สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (Electrical Engineering)

          หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ได้รับปริญญา วศ.บ. (วิศวกรรมไฟฟ้า หรือ B.Eng(Electrical Engineering) หลักสูตรมุ่งเน้นให้บัณฑิตมีความรู้ความสามารถด้านทฤษฎีและปฏิบัติทางวิศวกรรมไฟฟ้าที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของสภาวิศวกร พร้อมที่จะประยุกต์และพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม ตอบสนองอุตสาหกรรม 4.0 อาทิเช่น อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ และดิจิตอล เป็นต้น เพื่อการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ โดยการฝึกปฏิบัติวิชาชีพ ด้านการออกแบบและควบคุมระบบไฟฟ้ากำลัง ด้านพลังงาน ด้านระบบควบคุมอัตโนมัติ ตลอดจนการฝึกปฏิบัติจริงในสถานประกอบการ

         สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ(Industrial Engineering: IE)

         หลักสูตร IE แบ่งการเรียนการสอนออกเป็น กลุ่มวิชาวิศวกรรมการผลิต กลุ่มวิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์และกลุ่มวิชาการจัดการงานวิศวกรรม มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ทางด้านการเพิ่มผลผลิต การบริหารงานวิศวกรรม การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ระบบควบคุมอัตโนมัติ การเขียนแบบและการออกแบบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การใช้สถิติวิศวกรรมในการควบคุมคุณภาพ การวางแผนและควบคุมการผลิต การใช้เศรษฐศาสตร์วิศวกรรมในการออกแบบและวางผังโรงงาน การออกแบบแม่พิมพ์โลหะและพลาสติก การเลือกใช้วัสดุในทางวิศวกรรม เพื่อแก้ไขปัญหาระบบการผลิตในอุตสาหกรรม และสามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้สร้างนวัตกรรมที่รองรับกับการพัฒนาของประเทศในยุคอุตสาหกรรม 4.0 อีกทั้งเน้นจัดการเรียนแบบสหกิจศึกษาและฝึกประสบการณ์วิชาชีพ เพื่อให้นักศึกษาเตรียมความพร้อมในการทำงานตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษามีโอกาสฝึกงานในบริษัทต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ การประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษา คือข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ประกอบอาชีพอิสระและวิศวกรในสถานประกอบการทั้งในและต่างประเทศ

 

///////////////////////////////////////////////////////////////////////

เว็บไซต์ -->> คณะเทคโนโลยีสังคม  / คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตร

Facebook Page --> คณะเทคโนโลยีสังคม / คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตร